หลังจากที่ใช้ชีวิตพักผ่อนไปกับช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ หลายคนคงใช้ชีวิตไปกับการมีตติ้งสังสรรค์กับครอบครัวหรือเพื่อนฝูงจนอาจทำให้รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่ส่งผลต่อสุขภาพภายในอย่างเช่น ตับ มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่ง “ตับ” เปรียบเสมือนศูนย์กลางที่สำคัญของร่างกาย ซึ่งหากเราได้รับสารพิษมากเกินไปก็อาจทำให้ตับเสื่อมสภาพหรือเสียหายจนเกิดเป็นโรคต่างๆ ตามมาได้ ทาง Good Health & Well-being เลยอยากแนะนำวิธีการดูแลรักษาและฟื้นฟูตับของคุณเพื่อไม่ให้เสื่อมสภาพ ทั้งนี้ทั้งนั้นจะได้สุขภาพดีตลอดปีและตลอดไป “ตับ” มีหน้าที่สร้างสารที่สำคัญ อีกทั้งยังทำหน้าที่ผลิตน้ำดีและเกลือน้ำดีเพื่อช่วยย่อยสลายไขมัน,ทำหน้าที่สะสมพลังงาน ผลิตพลังงานและสลายสารอาหารให้ร่างกาย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ทำลายสารพิษ กำจัดของเสียที่ร่างกายได้มาจากอาหารหรือสารที่รับเข้าไป เช่น แอลกอฮอลล์ ยา กาแฟ หรือสารที่เป็นพิษ |
||||
8 สาเหตุที่ทำให้ตับเสื่อม 1.นอนดึกตื่นสายเป็นกิจวัตร 2.การไม่ปัสสาวะในตอนเช้า 3.ไม่รับประทานอาหารเช้า 4.รับประทานเกินความพอดีเป็นประจำ 5.บริโภคยาเกินความจำเป็น 6.อาหารก็สำคัญ ไม่ควรบริโภคอาหารที่ปรุงแต่ง ใส่วัตถุกันเสีย สีผสมอาหารและน้ำตาลเทียม 7.น้ำมันที่ใช้ทำอาหารด้อยคุณภาพและไม่เป็นประโยชน์ ทางที่ดีควรลดปริมาณการใช้น้ำมันลงหรือหันมาใช้น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ อาทิ น้ำมันมะพร้าว,น้ำมันมะกอก,น้ำมันคาโนลา ฯลฯ 8. ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ |
||||
วิธีป้องกันตับเสื่อมสภาพโดยไม่ต้องพึ่งหมอและยา 1. งดเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู 2. งดรับประทานมื้อดึกหรือหากหิวควรรับประทานอาหารเบาๆ เช่น ผัก ผลไม้ นม ไข่หรือ เนื้อปลาแทน 3.. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม อาทิ น้ำเย็น น้ำอัดลม กาแฟ ชา แอลกอฮอล์ หากอยากบริโภคควรดื่มแต่พอดี โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ไม่ควรดื่มเกิน 1-2 แก้วต่อวัน ทั้งนี้ควรดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 8-10 แก้ว จะช่วยล้างของเสียออกจากร่างกาย 4.ไม่นอนดึก เพราะช่วง 3-5 ทุ่ม เป็นเวลาดีที่สุด เพราะการนอนในเวลาดังกล่าวจะช่วยให้ขับของเสียตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้นั่นเอง 5. ขับถ่ายเป็นเวลาเพราะการท้องผูกจะทำให้ตับทำงานมากขึ้น 6.ดื่มน้ำผักผลไม้ 3 วันติดต่อกัน ควรทำเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อล้างสารพิษในตับ หากทำเป็นประจำจะทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้นอีกด้วย 7. รับประทานอาหารที่มีโปรแตสเซียม อาทิ ธัญพืชต่างๆ เช่น อัลมอนด์ ลูกเกด ลูกพรุน ผลไม้ เช่น กล้วย เป็นต้น |
||||
7 สมุนไพรดีต่อตับ | ||||
1. รากเตย |
||||
สรรพคุณ : มีส่วนช่วยบำรุงตับอ่อน 2. ขมิ้นชัน |
||||
สรรพคุณ : ล้างไขมันในตับ ป้องกันการเกิดไขมันพอกตับได้ 3. ฟ้าทะลายโจร |
||||
สรรพคุณ : ช่วยรักษาโรคตับ บำรุงตับที่เสื่อมสภาพ แก้ตับอักเสบ 4. มะขามป้อม |
||||
สรรพคุณ : มีวิตามินซีสูงมากกว่าแอปเปิ้ลถึง 160 เท่า อีกทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งความเป็นพิษต่อตับและมีรายงานว่ามะขามป้อมสามารถรักษาอาการตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ด้วย 5. เก๋ากี้ หรือ โกจิเบอร์รี่ |
||||
สรรพคุณ : มีส่วนช่วยบำรุงอวัยวะภายใน อาทิ ตับ ไต ในเก๋ากี้มีซีรีโบรไซด์(cerebroside) ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของตับให้เป็นปกติ 6. โสมเกาหลี |
||||
สรรพคุณ : มีส่วนช่วยบำรุงตับ กระตุ้นตับอ่อนให้สร้างอินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในภาวะสมดุล อีกทั้งขจัดพิษของแอลกอฮอลล์ในกระแสเลือดได้ 7. ลูกใต้ใบ |
||||
สรรพคุณ : จัดได้ว่าเป็นสมุนไพรชั้นเลิศมีสรรพคุณที่ดีต่อตับอย่างมาก อาทิ ช่วยบำรุงตับ ช่วยปรับไขมันในตับให้เป็นปกติ ช่วยรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี ช่วยรักษาอาการอักเสบของตับทั้งประเภทเฉียบพลันและเรื้อรัง และช่วยกำจัดพิษออกจากตับป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษ |