รูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน ครูคือผู้สร้างสมอุดมการณ์ มีดวงมาลเพื่อมวลชนใช่ตนเอง ข้อคิดคำคมของคนที่เป็นครู ผู้เขียนเมื่อครั้งยังเป็นผู้บริหารใหม่ๆ(2531) มักจะชอบการอ่านและบันทึกสิ่งที่อ่าน สิ่งที่ชอบเป็นพิเศษก็คือบันทึกคำกล่าวของบุคคล ที่อ่านแล้วประทับใจ อาจจะมีชื่ออ้างอิงบ้าง ไม่มีที่มาบ้างขอได้โปรดให้อภัยผู้เขียนด้วย เจตนารมณ์ในการเขียนเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและนำไปใช้สำหรับการทำงานของมวลหมู่ชาวครูด้วยกัน ครู คือ ผู้จุดประทีปทางปัญญา ให้ศิษย์พ้นจาก ความมืด ความโง่ โดยพยายามอดทน ประคับประคอง ส่งเสริมให้ศิษย์ก้าวหน้าในทุกวิถีทาง คนที่ขึ้นเรืออันมั่นคง มีถ่อมีพายครบบริบูรณ์ เขาซึ่งเป็นผู้รอบรู้ วิธีในเรือนั้น เป็นคนฉลาดมีสติ จึงเป็นที่พึงพาคนอื่น แม้มาก ซึ่งอยู่ในเรือนั้น ให้ข้ามถึงฝั่งได้แม้ฉันใด บุคคลผู้ดำเนินการด้วยปัญญา มีตนอันอบรมดีแล้ว เป็นพหูสูต มีความไม่หวั่นไหวเป็นธรรมดา เขาซึ่งเป็นคนรอบรู้ ย่อมนำคนอื่น ซึ่งเป็นผู้ตั้งใจคอยฟังและมีอุปนิสัยได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระไตรปิฎก ขุ.สุ. 25/387 นักเรียนเหมือนพฤกษา นานาชนิดในสวน ครูเหมือนชาวสวนที่หมั่นรดน้ำ พรวนดิน สักวันหนึ่งดอกไม้จะผลิดอกบานสะพรั่ง มิช้า มินาน …ไม้ผลจะออกผลหอมหวาน วันนั้น….คือวันที่ครู ได้รับรางวัล จากผลงาน ที่เหนื่อยยาก สุมน อมรวิวัฒน์ บัดนี้เรือจ้างถึงฝั่งแล้ว ลูกศิษย์แก้วก้าวเดินขึ้นสู่ท่า เหลียวหลังดูครูที่รักจักอำลา เช็ดน้ำตาด้วยซึ้งคิดถึงครู ใครหนอว่าเรือจ้างนั้นต่ำต้อย เรามิเคยท้อถอยหรืออดสู งานไหนเล่าจะเท่ากับงานครู ตัวเราสอนเรารู้อยู่แก่ใจ เด็กเล็กเล็กโดยสารมาเต็มลำ หากแจวจ้ำส่งเดชเกิดเหตุใหญ่ ปล่อยเรือล่มจมน้ำคว่ำลงไป ชีวิตใครเล่าจะดับกับสายชล ในห้วงแห่งปัญหาเวลานี้ ใครเล่าสร้างความดีทวีผล น้ำมือครูชุบชีวิตศิษย์ทุกคน ประสาจนแจวเรือจ้างอย่างยอดเอย สุมน อมรวิวัฒน์ แสงสว่างจากคบเพลิงกี่ร้อยดวง พันดวง หรือแม้แต่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ก็ไม่เท่าแสงสว่าง ที่ครูนำทางให้แก่ศิษย์ ความก้าวหน้าของนักเรียน คือ ความภูมิใจของครู ความสุขของศิษย์ คือ ความคิดของครู ท่านใดมีข้อคิดดีๆ มีภาพสวยๆ เกี่ยวกับครู ที่สร้างเสริมความสุขให้มวลครูกรุณานำมาเพิ่มด้วยครับ มีความสุขกันถ้วนหน้า อย่าจน อย่าเจ็บ เฮง เฮง ขอรับกระผม พระพุทธเจ้าได้เปรียบครูว่าเป็นทิศเบื้องขวา ผู้มีหน้าที่อนุเคราะห์ต่อศิษย์ดังนี้ 1.แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี 2.สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง 3.สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง 4.ส่งเสริมยกย่องความดีงามความสามารถให้ปรากฏและ 5.สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ คือ สอนฝึกให้สามารถใช้ชีวิต เลี้ยงชีพและรู้จักดำรงรักษาตน ในอันที่จะรู้จักดำรงรักษา ตน ในอันที่จะดำรงชีวิตต่อได้วยดี แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าแสดงธรรมหน้าที่ของครูไว้แต่สมัยพุทธกาล ครูมีหน้าที่ สอนคน ไม่ใช่สอนหนังสือเพียงอย่างเดียว บันทึก “ครูเพื่อศิษย์”