เด็ก
ส่วนหนึ่งยังตื่นร้องกลางคืนไปเรื่อยๆ ปัญหานี้เกิดจากการที่พ่อแม่ให้นมลูกบ่อยเกินไปในตอนกลางวัน หรือให้นมทุกครั้งที่ลูกร้อง กลางคืนลูกก็ตื่นร้องบ่อยเพื่อกินนมเหมือนช่วงกลางวันเฟรมเป็นเด็กน้อยอายุ 2 ขวบ คุณพ่อคุณแม่พามาปรึกษาด้วยเรื่อง ชอบตื่นมาร้องกลางดึก เฟรมนอน ประมาณ 3 ทุ่ม แต่มักตื่นขึ้นมาร้อง 3 – 4 รอบต่อคืน ปัญหาการนอนนี่ พบได้บ่อยครับ เด็กบางคนแยกที่นอนกับพ่อแม่ ก็มักจะตื่นร้อง แล้วปืนขึ้นเตียงพ่อแม่หรือมานอนที่นอนกับพ่อแม่จนเช้า คนที่มีอาชีพที่ต้องอยู่เวร คงเข้าใจดีถึงการอดหลับ อดนอนว่าเป็นอย่างไรนะครับ อยู่เวรวันนี้ ยังไงพรุ่งนี้ก็ยังได้นอนพัก แต่ใครที่มีลูกเล็กๆ ที่มีปัญหาการนอนจะแย่กว่ามากเพราะมันเป็นประสบการณ์อยู่เวร อยู่ยามทุกคืน โดยไม่มีวันได้หยุดพักเลยครับ เมื่อลูกตื่น พ่อแม่ก็ต้องตื่น (พ่อบางคนอาจไม่ตื่น แต่คนเป็นแม่ตื่นแน่) อดนอนหลายคืนแล้ว ทุกเช้าก็ต้องไปทำงานตามปกติ เล่นเอาคุณพ่อคุณแม่หลายคนถึงกับโทรม เดินไปทำงานแบบเบลอๆ เลยครับ ปัญหาการนอนของลูกอาจเริ่มตั้งแต่รับลูกมาจากโรงพยาบาลจนบางทีไปถึงวัยอนุบาลก็ได้ครับ เราลองมาทำความเข้าใจเรื่องการนอนของเด็กกันดีกว่านะครับ การนอนกับพัฒนาการตามวัย การนอนก็เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็กครับ จากการศึกษาวิจัย เด็กทารกจะใช้เวลากับการนอนมากถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน โดยมักตื่นร้องทุก 3 – 4 ชั่วโมง ซึ่งสัมพันธ์กับความหิว เนื่องจากเด็กทารกต้องกินนมทุก 3 – 4 ชั่วโมงนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เด็กทารกจะตื่นกลางคืนทุก 3 – 4 ชั่วโมง ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่คงต้องทนเหนื่อยไปก่อนครับ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะหลับกลางคืนได้นานขึ้น โดยพบว่าร้อยละ 70 ของเด็กอายุ 3 เดือนจะเริ่มหลับยาวได้เกือบตลอดคืน และที่อายุ 4 เดือนเด็กหลายคนจะหลับต่อเนื่องได้ถึง 8 ชั่วโมง ดังนั้นพอลูกอายุ 3 – 4 เดือนคุณพ่อคุณแม่หลายคนก็จะเริ่มสบายขึ้น แต่ก็พบว่าเด็กส่วนหนึ่งยังตื่นร้องกลางคืนไปเรื่อยๆ ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการที่พ่อแม่ให้นมลูกบ่อยเกินไป เช่นในตอนกลางวันพ่อแม่ให้นมลูกทุก 1 – 2 ชั่วโมง หรือให้นมทุกครั้งที่ลูกร้องเด็ก กลางคืนลูกก็ตื่นร้องบ่อยเพื่อกินนมเหมือนช่วงกลางวัน (Trained night feeders) อีกปัญหาหนึ่งเกิดจากการที่พ่อแม่ตอบสนองต่อการตื่นของลูกทุกครั้งด้วยการให้นม (Trained night crier) อันนี้พบบ่อยมากจริงๆ ครับ คือเวลากลางคืน ถ้าลูกร้อง ไม่ว่าจะร้องดัง หรือแค่ร้องแอ๊ะๆ ก็รีบเอาขวดนมใส่ปากทันที ถ้าทำอย่างนี้เด็กจะถูกฝึกให้ตื่นร้องมากินนมกลางคืนไปตลอด คราวนี้ล่ะครับ แทนที่จะได้หลับยาวๆ ตามที่ควรจะเป็น ก็เลยร้องตื่นคืนละ 3 – 4 รอบ ทำให้พ่อแม่อดหลับอดนอนไปตามๆ กัน เหมือนอย่างกรณีของเฟรม
ในกรณีของเฟรม หลังจากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจที่มาของปัญหาแล้ว สรุปว่าเฟรมถูกตั้งเงื่อนไขในการนอนไว้ดังนี้คือตื่นขึ้นมาต้องมี
คุณพ่อคุณแม่ก็ค่อยๆ ถอนการตอบสนองออกทีละอย่าง เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ไม่พาเดินรอบห้อง อีก 2 – 3 วันต่อมาเริ่มไม่เปิดไฟ ไม่พูดคุย พยายามให้หลับบนที่นอนตัวเอง ต่อมาก็พยายามจะไม่อุ้มขึ้นมา ต่อมาอีก 2 – 3วันก็ค่อยๆ ลดความถี่ในการให้นมขวด บางทีก็เริ่มให้น้ำเปล่าแทนนมขวด จากนม 4 ขวดต่อคืนก็ลดเหลือ 3 2 1 ขวด ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เฟรมก็เริ่มร้องน้อยลงและไม่ค่อยตื่นกลางคืนแล้ว ลูกนอนดึก ตื่นสาย แทบไม่น่าเชื่อว่าผมได้พบเด็กชายอายุ 2 ปีอีกคนหนึ่งที่นอนดึกมาก คือกว่าจะนอนเกือบตี 1 แล้วไปตื่นเอา 10 โมงเช้า รายนี้พ่อแม่ขายของกลางคืน เลยเลิกงานดึกเกือบเที่ยงคืน ลูกก็รอเล่นด้วย พอจะปิดไฟให้นอน ลูกก็ร้องไห้ ไม่ยอม จะเล่นต่อ พ่อแม่เห็นลูกร้องมากก็ตามใจ เด็กก็เริ่มนอนดึกขึ้นเรื่อยๆ หรือบางทีปัญหาการนอนของลูกอาจเกิดจากคุณพ่อคุณแม่บางคนมีพฤติกรรมนอนดึกอย่างอื่นเช่นชอบนั่งดูทีวี หรือเล่นคอมพิวเตอร์จนดึก เด็กมักคุ้นเคยกับการนอนดึกตามไปด้วย ผลเสียของการนอนดึกเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth hormone) ซึ่งจะหลั่งออกมาในสมองเฉพาะเวลานอนหลับตอนกลางคืนเท่านั้น มันจะไม่หลั่งเวลาเช้าหรือสายๆ ดังนั้นเด็กที่ไม่นอนกลางคืน แต่มานอนกลางวัน ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาน้อยอาจมีผลกระทบการเจริญเติบโตได้ ดังนั้นเด็กจึงไม่ควรนอนดึกเกิน 4 ทุ่มครับ สำหรับเด็กที่นอนผิดเวลาไปแล้ว อาจปรับพฤติกรรมโดยลองปลุกลูกให้เช้ากว่าปกติ เช่นปกติตื่น 10 โมงเช้าก็ค่อยๆ ปลุกเร็วขึ้นเป็น 9 โมงครึ่ง วันต่อไปก็เป็น 9 โมงเช้า เด็กอาจง่วงนอนตอนกลางคืนเร็วขึ้น เราก็พยายามค่อยๆ เอาลูกเข้านอนเร็วขึ้นเช่นเคยนอนเที่ยงคืน ก็เลื่อนลงเป็น 5 ทุ่มครึ่ง เป็น 5 ทุ่มพร้อมกับจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการนอนหลับอย่างที่แนะนำไปแล้วตอนต้น ปัญหาการนอนในเด็กเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย และแตกต่างจากปัญหาการนอนของผู้ใหญ่ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับการนอนของลูก คอยป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรือถ้ามีปัญหาก็ปรึกษาแพทย์เพื่อคำแนะนำที่ถูกต้อง ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะช่วยให้พัฒนาการและสุขอนามัยของลูกดีขึ้นและพ่อแม่ก็ไม่เครียด ได้นอนหลับพักผ่อนตามลูกไปด้วยครับ น.พ. กมล แสงทองศรีกมล
กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น |